Mini Cart

สายตาสั้นคืออะไร? ถ้าอยากรู้ เรามาดูกัน

       สายตาสั้น(Myopia) คือภาวะที่แสงจากวัตถุตกบริเวณหน้าจอรับภาพในตา ส่งผลให้เห็นภาพไม่ชัดที่ระยะไกล แต่เห็นชัดที่ระยะใกล้ ยิ่งมีภาวะสายตาสั้นมาก ภาพก็ยิ่งตกไกลออกไปจากจอรับภาพ และยิ่งเห็นภาพไม่ชัดที่ระยะไกล

สาเหตุ
1.
Axial myopia เกิดขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของความยาวกระบอกตา ปัจจัยที่ทำเกิด ได้แก่ พันธุกรรม, สิ่งแวดล้อม, และระยะเวลาการทำงานระยะใกล้

2.Refractive myopia เกิดขึ้นากสภาพการหักเหแสงขององค์ประกอบภายในตา แบ่งออกเป็น
2.1Curvature myopia เกิดจากการเพิ่มขึ้นของพื้นผิวโค้งหักเหแสงภายในตา โดยเฉพาะกระจกตา

2.2Index myopia เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีหักเหขององค์ประกอบภายในตา  การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำตาลในเลือดทำให้เกิด เลนส์บวม เช่นโรคเบาหวาน ทำให้เกิดภาวะสายสั้นชั่วคราวได้

จะทราบได้อย่างไรว่าสายตาสั้น ?

        คนที่เริ่มสายตาสั้นนั้นเวลามองอะไรจะชอบเข้าไปมองดูใกล้ ๆ ชอบหยีตาหรือหรี่ตา หรือบางครั้งอาจตะแคงหรือเอียงศีรษะเวลามองไกล ๆ เช่น อ่านหนังสือก็ต้องก้มหน้าจนชิดหนังสือ รวมถึงการมีอาการปวดศีรษะอยู่เป็นประจำ เป็นต้น

การรักษาสายตาสั้น

1.สวมแว่นสายตา การสวมแว่นสายตาถือเป็นการแก้ไขปัญหาสายตาสั้นที่ง่ายและปลอดภัย

2.ใส่คอนแทคเลนส์ โดยการใส่คอนแทคเลนส์นั้นสะดวก เนื่องจากเลนส์มีน้ำหนักเบา

3.การผ่าตัด วิธีนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาสายตาผิดปกติ รวมทั้งช่วยให้ผู้ป่วยไม่ต้องสวมแว่นตาหรือใส่คอนแทคเลนส์

และที่สำคัญ หากท่านใดที่มีค่าสายตาสั้น ลบเยอะ แล้วกลัวว่าแว่นตาจะออกมาเหนาเทอะทะ นั้นไม่ต้องกังวลไปเพราะ ที่ร้าน ไอแวร์ เรามีแลปที่สามารถ เจียรเลนส์แต่งขอบให้หลบขอบข้าง ซึ่งจะ ทำให้ แว่นตาดูไม่หนาอย่างที่เคยเป็นมาก่อน ได้ สามารถดูตัวอย่างได้ ในนี้ 

คำถามสุดคลาสสิค และความเข้าใจผิด ของคนทั่วไป มักจะสงสัยกันว่า … สายตาสั้นจะกลับมาป็นสายตาปกติตอนแก่  จริงหรือ??

       ภาวะสายตาสั้นนี้เป็นความผิดปกติที่พบได้บ่อยที่ทำให้มองไกล ไม่ชัด แต่ยังสามารถมองเห็นวัตถุใกล้ๆ ได้ชัดเจน

บางรายก็ยังมีข้อสงสัยและความเข้าใจว่า หากมีภาวะสายตาสั้นในตอนเด็กแล้ว พอเริ่มโตขึ้นมา สายตาจะกลับมาปกติเองนั้น ถือว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่ง

          คนที่สายตาสั้นซึ่งแสงจากวัตถุระยะไกลจะตกก่อนถึงจอตาเล็กน้อย แต่เมื่ออ่านหนังสือแสงจากตัวอักษรก็จะตกใกล้จอตามากขึ้น ในคนกลุ่มนี้เมื่อมีภาวะสายตายาวสูงอายุร่วม (40 ปีขึ้น) จึงสามารถอ่านหนังสือได้โดยไม่จำเป็นต้องสวมแว่นสายตาใดๆ 

           ด้วยเหตุผลข้างต้นหลายคนที่สายตาสั้นและมีค่าสายตาลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น บวกกับสามารถอ่านหนังสือได้ด้วยตาเปล่าเมื่อมีภาวะสายตายาวสูงวัยร่วมหลังอายุ 40 จึงเกิดความเข้าใจผิดและคิดว่าภาวะสายตาสั้นมีการเปลี่ยนแปลงกลับมาได้นั้นเอง

การรักษา  ถ้าเดิมเราสายตาสั้น และใส่แว่นแก้สายตาเพื่อมองไกลอยู่แล้ว แต่เริ่มใส่แว่นอันเดิมนี้มองใกล้ไม่ได้ วิธีแก้ไขคือ

1.ตัดแว่นมองใกล้เพิ่มอีก 1 อันเป็นเพิ่อไว้มองใกล้ ส่วนอันเดิมไว้มองไกล

2.ใช้แว่นเดียวที่มี2 กำลังในอันเดียวกันหรือเลนส์สองชั้น (bifocal) คือมองไกลและมองใกล้

3.ใช้แว่นเดียว ที่มีหลายกำลังที่เรียกว่าเลนส์ชัดหลายระยะ แบบไร้รอยต่อ (Progressive Lens : อ่านเพิ่มคลิ๊ก)